การ แลกเปลี่ยนแก๊สในร่าง กาย

การ แลกเปลี่ยนแก๊สในร่าง กาย

การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกายของคนเราเกิดขึ้น 2 แห่ง คือที่ปอดและที่เนื้อเยื่อ การที่ออกซิเจนจากถุงลมในปอดเข้าสู่เส้นเลือดฝอย และการที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลมในปอดนั้นเกิด ด้วยวิธีการแพร่ เนื่องจากทั้งผนังของถุงลมและผนังของเส้นเลือดฝอยนั้นบางมากคือมีลักษณะ เป็นเซลล์เพียงชั้นเดียว การเคลื่อนที่ของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จากถุงลมและเส้นเลือดฝอยนั้น เกิดจากความดันที่ต่างกันระหว่างเลือดกับปอด ในปอดมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเลือดดำที่ไหล กลับจากร่างกายเข้าปอดซึ่งมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากมาย ดังนั้นความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดจึงสูงกว่าความดันคาร์บอน ไดออกไซด์ในถุงลม จึงทำให้คาร์บอนไดออกไซด์แพร่จากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม

ในกรณีกลับกันในถุงลมมีออกซิเจนมาก แต่ออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยนั้นมีปริมาณน้อยมาก ดังนั้นความดันของออกซิเจนในถุงลมจึงสูงกว่าความดันของออกซิเจนในเส้นเลือด ฝอย ออกซิเจนจึงแพร่จากถุงลมเข้าสู่เส้นเลือดฝอย

จากหลักการอันนี้อธิบายได้ว่าทำไมเวลาอยู่บนภูเขาสูงๆจึง หายใจไม่สะดวก เพราะบนที่สูงนั้นความดันออกซิเจนลดลง ทำให้ความดันของออกซิเจนในถุงลมกับเส้นเลือดฝอยต่างกันไม่มาก ออกซิเจนจึงแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยได้น้อยเช่นเดียวกับเวลาที่อยู่ในห้อง ที่อากาศไม่ถ่ายเทและมีคนเบียดเสียด จะรู้สึกอึดอัดเพราะความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมกับความดันของ คาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดฝอยใกล้เคียงกัน คาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดฝอยจึงไม่ค่อยแพร่เข้าสู่ถุงลมจึงรู้สึกอึดอัด

การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมกับเส้นเลือดฝอยโดยออกซิเจน จากถุงลมจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยรอบๆถุงลมและรวมตัวกับฮีโมลโกลบิน (heamoglobin – Hb ) ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงกลายเป็นออกซีฮีโมลโกลบิน ( Oxyhaemoglobin – HbO2 ) ซึ่งมีสีแดงสด เลือดที่มีออกซีฮีโมลโกลบินนี้จะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเนื้อ เยื่อต่างๆทั่วร่างกาย ที่เนื้อเยื่อออกซีฮีโมลโกลบินจะสลายให้ออกซิเจนและฮีโมลโกลบิน ออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อได้รับ ออกซิเจน ดังสมการ

ที่ปอด

Hb + O2 HbO2

ที่เนื้อเยื่อ

ในขณะที่เนื้อเยื่อรับออกซิเจนนั้น ออกซิเจนจะทำให้ปฏิกิริยากับสารอาหาร ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง ที่เนื้อเยื่อมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น คาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด คาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยากับน้ำในเม็ดเลือดแดงเกิดกรดคาร์บอ นิกซึ่งจะแตกตัวต่อได้ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนและไฮโดรเจนไอออน เมื่อเลือดที่มีไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนมากไหลเข้าสู่หัวใจจะถูกฉีดต่อไปยัง เส้นเลือดฝอยรอบๆถุงลมในปอด ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนและไฮโดรเจนไอออนจะรวมตัวกันเป็นกรดคาร์บอนิกแล้ว จึงสลายตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลให้ความหนาแน่นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดฝอยสูงกว่าคาร์บอน ไดออกไซด์ในถุงลม จึงเกิดการแพร่ของคาร์บอนไดออกไซด์จากเส้นเลือดฝอยสู่ถุงลมปอด

CO2 + H2O H2CO3 H+ + HCO3

เนื้อเยื่อ ของปอดต้องการออกซิเจนเหมือนกัน เพราะเนื้อเยื่อของปอดต้องการพลังงานในการทำกิจกรรมในเซลล์เช่นเดียวกับ เซลล์ของเนื้อเยื่ออื่นๆ
การแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณเนื้อเยื่อ ของร่างกายใช้ความแตกต่างของความดันเป็นตัวอธิบาย เนื่องจากเซลล์ให้ออกซิเจนในการหายใจตลอดเวลา ความดันของออกซิเจนในโปรโทพลาซึมจึงต่ำกว่าความดันของออกซิเจนในเส้นเลือด ฝอย ออกซิเจนจากเส้นเลือดฝอยจึงแพร่เข้าสู่เซลล์ ในขณะเดียวกันเซลล์สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นเรื่อยๆจากการหายใจ ดังนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ในเซลล์จึงมีปริมาณสูงกว่าในเส้นเลือดฝอย คาร์บอนไดออกไซด์จึงแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอย ดังนั้นเส้นเลือดฝอยที่เซลล์จึงมีความดันออกซิเจนต่ำและคาร์บอนไดออกไซด์ สูง ถูกส่งกลับไปที่ปอดใหม่วนเวียนอยู่เช่นนี้
โดยปกติแล้วฮีโมลโกล บินนั้นรวมตัวกับคาร์บอนมอนอกไซด์ ( CO ) ได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200 – 250 เท่า ดังนั้นเมื่อหายใจเอาอากาศที่มี CO เข้าไปเลือดจึงรับ O
2 น้อยลง หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดให้เร็วขึ้นเพื่อให้เลือดผ่านปอดมากจะได้มีโอกาส รับ O2 ได้มากขึ้น หัวใจและปอดจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อจะนำเอาออกซิเจนไปสู่เซลล์ให้เพียงพอ กับความต้องการทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอดและหัวใจ อาการโดยทั่วไปเมื่อรับ CO เข้าสู่ร่างกายมาก จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มึนงง ถ้าได้รับแก๊สนี้แม้จะเป็นจำนวนน้อยแต่ถ้าได้รับเป็นเวลานานจะทำให้จิตใจ และประสาทผิดปกติ อ่อนเพลียไม่มีแรง ความจำเสื่อม เบื่ออาหาร หูอื้อ ถ้าได้รับแก๊สนี้จำนวนมากติดต่อกันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อนุภาค ของโลหะหนักบางชนิดถ้ามีในอากาศจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม

อากาศเข้าและออกจากปอดได้อย่างไร

ปกติการหายใจประกอบด้วยการหายใจเข้าและ หายใจออก แต่ละจังหวะของการหายใจจะมีการขยายตัวและการหดตัวของปอด ซึ่งเกิดการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อสำหรับหายใจ

กล้าม เนื้อสำหรับหายใจ มี 2 ประเภท

1. กล้ามเนื้อสำหรับหายใจเข้า

2. กล้ามเนื้อสำหรับหายใจออก

กล้ามเนื้อสำหรับ หายใจเข้า เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญในการหายใจเข้า ประกอบด้วย

1. กะบังลม (diaphram) เป็นกล้ามเนื้อลาย กั้นอยู่ระหว่างช่องอกและช่องท่อง เป็นกล้ามเนื้อหลักสำหรับหายใจเข้า การหดตัวของกะบังลมจะให้ปริมาตรช่องอกขยายตัวตามความยาวกะบังลมลดต่ำลง

2. กล้าม เนื้อซี่โครงด้านนอก (External intercostal muacle) เป็นกล้ามเนื้อลาย ยืดอยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงด้านนอก การหดตัวของกล้ามเนื้อนี้จะทำให้ปริมาตรช่องอกขยายตัวออกทางด้านหน้าเพราะ ทำให้กระดูกซี่โครงกางออก นอกจากนี้ยังทำให้ทรวงอกแข็งแรงอีกด้วย

การหายใจเข้า กะบังลมจะหดตัว จะทำให้ส่วนโค้งของกะบังลมลดต่ำลง เป็นจังหวะพอดีกับกระดูกซี่โครงกระดูกหน้าอกยกตัว ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้น ความดันในปอดจะลดลงอากาศจึงเคลื่อนเข้าสู่ปอด ดังนั้นขณะหายใจเข้า ความดันอากาศภายนอกสูงกว่าความดันในช่องอก

กล้าม เนื้อสำหรับหายใจออก ประกอบด้วย

1. กล้าม เนื้อหน้าท้อง ( abdominal muscle ) ได้แก่กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องทั้งหมด ซึ่งมีหลายมัดด้วยกัน การหดตัวของกล้ามเนื้อท้องทำให้เพิ่มความดันภายในช่องท้องซึ่งมีผลให้ อวัยวะภายในช่องท้องดันกะบังลมขึ้นเป็นการช่วยลดปริมาตรของช่องอกลง

2. กล้าม เนื้อซี่โครงด้านใน ( internal intercostal muscle ) เป็นกล้ามเนื้อลายที่ยึดอยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงทางด้านใน การหดตัวของกล้ามเนื้อนี้จะกดซี่โครงให้หุบ จึงมีผลในการลดปริมาตรช่องอกลงทางด้านหน้า

3. กะบังลม เนื่องจากการคลายตัวของกะบังลมอาจเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆหลังจากการหดตัว โดยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆหลังจากการหดตัว โดยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและสมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีผลต่อการหายใจออกได้เหมือนกัน นั่นคือในลักษณะดังกล่าวนี้จะช่วยให้เกิดการหายใจออกอย่างช้าๆ

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การลำเลียงสารในร่างกาย
ระบบการหมุนเวียนของเลือด มี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ

1.ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open Circulatory System)

2.ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (Closed Circulatory System)



แผนภาพแสดงระบบหมุนเวียนของเลือด

ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด หมายถึง ระบบที่เลือดไม่ได้หมุน

เวียนตลอดเวลา เช่นพวกแมลง

ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด หมายถึง ระบบที่เลือดไหลวนเวียน

อยู่ในเส้นเลือดตลอด เช่น พวกไส้เดือน

ระบบการหมุนเวียนเลือดในคน

-มีระบบการหมุนเวียนแบบปิด

-หัวใจ มีหน้าที่สูบฉีดเลือดให้เคลื่นที่ไปตามเส้นเลือด

หัวใจ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น

1.ชั้นนอก

2.ชั้นกลาง

3.ชั้นใน

1. ผนังด้านนอกของหัวใจ เส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

เรียกว่าเส้นเลือดโคโรนารี (Coronary artery ) ถ้ามีไขมันมาเกาะ

ติดทำให้เกิดการอุดตัน ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้

2. เนื้อเยื่อชั้นกลาง

ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อพิเศษ เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเนื้อ

เยื่อชั้นนี้จะมีความหนามาก

3. เนื้อเยื่อชั้นใน หัวใจของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี 2 ห้อง

บน 2 ห้องล่าง

- ห้องบน คือ เอเทรียม (atrium)

- ห้องล่าง คือ เวนทริเคิล (Ventricle)



หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมีเส้นเลือดที่ติดต่อกับหัวใจหลาย

เส้น เรียกว่า เส้นเวน (vein) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ

อาร์เทอรี (Artery) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยัง

ส่วนต่าง ๆ ของร่ายกาย

การหมุนเวียนของเลือด

ห้องเอเทรียมขวา มีหน้าที่รับเลือดจากเส้นเวน ชื่อซุพีเรียเวนา

คาวา (Superior venacava) นำเลือดมาจากหัวและแขน และรับ

เลือดมาจากอินฟีเรีย เวนาคาวา (Inferior venacava) ซึ่งนำเลือดมา

จากลำตัวและขาแล้วนำเข้าสู่หัวใจ เอเทรียมขวาบีบตัวเลือดเข้าสู่

เวนทริเคิลขวา โดยจะผ่านลิ้นไตรคัสปิด (tricuspid valve) บีบตัว

เลือดจะผ่านลิ้นเซมิลูนาร์ (Semilunar valve) ซึ่งจะเปิดเข้าสู่เส้น

พัลโมนารีอาร์เทอรี (Pulmonary artery) นำเลือดไปยังปอดเพื่อ

แลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แก่ปอดและรับออกซิเจนจาก

ปอด

เลือดที่มีออกซิเจนสูงจะไหลกลับหัวใจ เข้าสู่ห้องเอเทรียมซ้าย

เมื่อเอเทรียมซ้ายบีบตัว เลือดจะผ่านลิ้นไมทรัล (Mitral valve)

หรือลิ้นไบคัสปิด (bicuspid valve) เข้าสู่ห้องเวนทริเคิลซ้าย เวน

ทริเคิลซ้ายบีบตัวจะดันเลือดให้ไหลผ่านลิ้นเซมิลูนาร์ เข้าสู่เอออร์

ตา (Aorta)

ลักษณะที่สำคัญของเส้นเลือดอาร์เทอรี

-นำเลือดออกจากหัวใจ

-ขนาดใหญ่สุด คือ เอออร์ตา

-ขนาดเล็กสุด คือ อาร์เทอรี

-มีผนังหนา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้

-เอออร์ตา มีความยืดหยุ่นที่ดี สามารถขยายรับแรงดันเลือด

-อาร์เทอรี ยืดหยุ่นตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เราสามารถจับ

ชีพจรได้จากเส้นอาร์เทอรีตรงบริเวณข้อมือ

-อาร์เทอรีที่อยู่ไกลหัวใจ จะมีขนาดเล็กลง ความยืดหยุ่นน้อยลง

ลักษณะที่สำคัญของเส้นเลือดเวน

-มีหน้าที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ

-เส้นเวนที่ต่อกับเส้นเลือดฝอยมีขนาดเล็ก

-มีขนาดใหญ่เมื่ออยู่ใกล้หัวใจ

-ผนังของเส้นเลือดบาง และมีความยืดหยุ่นน้อย

-มีกล้ามเนื้อน้อย

-รูของเส้นเวนกว้างกว่ารูของอาร์เทอรี

-เวนเส้นใหญ่จะมีลิ้นอยู่ภายในเป็นช่วง ๆ

เส้นเลือดฝอย

เส้นเลือดฝอย มีลักษณะเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อของ

ร่างกาย เชื่อระหว่างอาร์เทอรีและเวน

ผนังเส้นเลือดฝอย เหมาะสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซและสารต่าง ๆ

ระหว่างเลือดกับเซล ร่างกาย

ปกติผู้ใหญ่มีความดันเลือดประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท

ตัวแรก 120 คือ ค่าความดันเลือดสูงสุดขณหัวใจบีบตัว เรียกว่า

ความดันซิสโทลิก (Systolic)

ตัวหลัง 80 คือ ความดันเลือดขณะหัวใจพองตัว คือ ความดัน

ไดแอสโทลิก (diastolic)

โรคที่เกิดจากความดันเลือด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น

เลือดคนประกอบด้วย

-น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) ประมาณ 55%

-เม็ดเลือด (Blood Corpuscle) ประมาณ 45%

เม็ดเลือด ประกอบไปด้วย

-เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte)

-เม็ดเลือดขาว (leucocyte)

-เพลตเลต (Platelet)

เม็ดเลือดแดง

-เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างกลม แบน ตรงกลางเว้าเข้าหากัน

-ผู้ใหญ่ เม็ดเลือดแดงสร้างมาจากตับ , ม้าม, ไขกระดูก

-เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่จะมีนิวเคลียส เมื่อเจริญเต็มที่จะไม่

มีนิวเคลียส

เม็ดเลือดแดง มีรงค์วัตถุ คือฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ประกอบ

ด้วยโปรตีนและธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ

ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) คือ ฮีโมโกลบินรวมกับ

ออกซิเจน

เม็ดเลือดขาว

-มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเกือบ 2 เท่า

-มีนิวเคลียส

-มีจำนวนน้อยกว่าเม็ดเลือดแดง

-เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

-เม็ดเลือดขาวสร้างจากม้าม , ต่อมไทมัส , ต่อมน้ำเหลือง ,

ไขกระดูก

เซล เม็ดเลือดขาว แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ

1.พวกมีแกรนูล (granule) ในไซโทพลาสซึม มีนิวเคลียสรูปร่าง

ต่าง ๆ กัน สร้างจากม้ามและไขกระดูก

2.พวกไม่มีแกรนูลในไซโทพลาสซึม นิวเคลียสมีลักษณะค่อน

ข้างกลม สร้างมาจากต่อมไทมัส, ต่อมน้ำเหลือง , ม้าม

วิธีทำลายเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูลบางชนิดทำลายเชื้อโรคโดยวิธี ฟาโก

ไซโทซีส บางชนิดจะสร้างโปรตีนต่อต้านสิ่งแปลกปลอม หรือ

แอนติบอดี (Antibody) สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายรวมทั้งเชื้อ

โรค เรียกว่า แอนติเจน

แอนติบอดี มีหน้าที่ต่อต้านแอนติเจน

Active immunity คือ ภูมิคุ้มกันก่อเอง

Passive immuity คือ ภูมิคุ้มกันรับมา

เพลตเลต บางครั้งเรียกว่า เศษเม็ดเลือด , เกล็ดเลือด , แผ่นเลือด

เพลตเลต จะอยู่ในไซโทพลาสซึม ซึ่งมีในไขกระดูก มีรูปร่างไม่

แน่นอน มีขนาดเล็ก กว่าเม็ดเลือดแดงเกือบ 4 เท่า

เพลตเลต ทำให้เลือดแข็งตัวในขณะที่เส้นเลือดฉีดขาด

ขบวนการแข็งตัวของเลือด

ในขณะที่เส้นเลือดฉีกขาด เพลตเลตจะปล่อยเอนไซม์ทรอม

โบพลาสติน (thromboplastin) กับแคลเซียมในเลือดจะเปลี่ยน

โพรทรอมบิน(Prothrombin) เป็นทรอมบิน สารนี้สามารถ

เปลี่ยนไฟบริโนเจน (Fibrinogen) ให้เป็นไฟบริน

ไฟบริน มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว อุดตรงจุดรอยฉีกขาดของ

เส้นเลือดและเพลตเลตมา เกาะบนร่างแหทำให้เลือดหยุดไหล

แผนภาพขบวนการแข็งตัวของเลือด



คนที่ขาดวิตามิน K ทำให้เลือดแข็งตัวช้า เพราะวิตามิน K มีความ

จำเป็นในการสร้างโพรทรอมบิน

น้ำเลือด

น้ำเลือด หมายถึง เม็ดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งเพลตเลตที่อยู่ในของ

เหลว น้ำเลือดประกอบไปด้วย

-น้ำประมาณ 90 – 93%

-โปรตีน เช่น ไฟบริโนเจน อัลบูมิน (albumin)โกลบูลิน

(globulin)

น้ำเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้ว ไปให้เซลที่ส่วนต่าง

ๆ ของร่างกาย และรักษาสมดุลความเป็นกรดเบสในร่างกาย

หมู่เลือด

เลือดสามารถแบ่งได้ตามชนิดของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต

สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม

กลุ่ม A

กลุ่ม B

กลุ่ม AB

กลุ่ม O

การจำแนกกลุ่มเลือดตามชนิดของสารแอนติเจน เรียกว่าระบบ

ABO

แอนติเจน Rh สามารถแบ่งเป็น

- Rh+ หมายถึง คนที่มีแอนติเจน Rh อยู่ในเยื่อหุ้มเซล เม็ดเลือด

แต่ไม่มีแอนติบอดี Rh อยู่ในเลือด

-Rh- หมายถึง คนที่ไม่มีแอนติเจน Rh ในเม็ดเลือดแดง และไม่

มีแอนติบอดีของ Rh

ระบบน้ำเหลือง

สารในน้ำเหลืองส่วนใหญ่เป็นโปรตีน มีโมเลกุลขนาดใหญ่

มีเอนไซม์ฮอร์โมน เม็ดเลือดขาว

น้ำเหลือง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่าง

เซล และเส้นเลือดฝอย น้ำเหลืองช่วยกำจัดแบคทีเรียหรือสิ่งแปลก

ปลอมซึ่งทำลายโดยเซล เม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลือง โดยวิธี

ฟาโกไซโทซีส

ระบบน้ำเหลือง ประกอบด้วย

- น้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง

- ต่อมน้ำเหลือง (lymph node)

- อวัยวะน้ำเหลือง (lymphatic organ)

ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะน้ำเหลือง มีหน้าที่

- กรองน้ำเหลือง

- ทำลายเชื้อโรค

- แหล่งทำลายเม็ดเลือดขาวที่หมดอายุ

- แหล่งสร้างเม็ดเลือดขาวบางชนิด